Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สรุปรายละเอียด อัตราค่าแปรสภาพและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56




สรุปรายละเอียด

อัตราค่าแปรสภาพและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2555/56

       

          1. อัตราแปรสภาพ

                   - อัตราแปรสภาพหัวมันสด 2.42 กก. เป็นมันเส้น 1 กก.

                   - อัตราแปรสภาพหัวมันสด  4.4  กก. เป็นมันเส้น 1 กก.

          2. ค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพ

                   - ค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพหัวมันสดเป็นมันเส้น ตันละ 413 บาท

                   - ค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพหัวมันสดเป็นแป้งมัน ตันละ 3,500 บาท

          3. ค่าขนส่งอัตราเดียวกันกับอัตราค่าขนส่งโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ดังนี้

         

ระยะทาง

ค่าขนส่ง

ระยะทาง

ค่าขนส่ง

50 กม.

100 กม.

150 กม.

200 กม.

250 กม.

300 กม.

350 กม.

400 กม.

150 บาท/ตัน

180 บาท/ตัน

220 บาท/ตัน

260 บาท/ตัน

290 บาท/ตัน

330 บาท/ตัน

360 บาท/ตัน

400 บาท/ตัน

450 กม.

500 กม.

550 กม.

600 กม.

650 กม.

700 กม.

เกินกว่า 700 กม.

 

440 บาท/ตัน

480 บาท/ตัน

510 บาท/ตัน

550 บาท/ตัน

580 บาท/ตัน

600 บาท/ตัน

600 บาท/ตัน


ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพและค่าขนส่ง ตามข้อ 2 และ 3 หักจ่ายเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

          4. อัตราค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษามันเส้น ดังนี้

              (1.) ค่าฝากเก็บ (รวมประกันภัย) เดือนละ 21.90 บาท/ตัน

              (2.) ค่าตรวจสอบคุณภาพ ตันละ 17.10 บาท

              (3.) ค่าแรงกรรมกรขนเข้า – ออก ตันละ 15 บาท

              (4.) ค่าพลิกกอง ตันละ 16 บาท ( 2 เดือนต่อครั้ง)

          5. อัตราค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาแป้งมัน ดังนี้

              (1.) ค่าฝากเก็บ (รวมประกันภัย) เดือนละ 31 บาท/ตัน

              (2.) ค่าแรงกรรมกรขนเข้า – ออก ตันละ 85 บาท

              (3.) ค่าตรวจสอบคุณภาพ ตันละ 17.10 บาท

          6. อัตราสูญเสียน้ำหนักระหว่างเก็บรักษามันเส้น กำหนดให้มีน้ำหนักสูญหายตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาที่ขาดหายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 1 ของปริมาณการเก็บรักษา

วิสาหกิจชุมชนคนรักการเกษตรเอี่ยมเฮง โมเดลการเกื้อกูลกันระหว่างวิถีเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม‏




จากกรณีที่เกษตรกรในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ต.กุดโบสถ์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ได้นำน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียของ บริษัท เอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจในกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เป็นแหล่งรวบรวมและรับซื้อผลผลิตหัวมันสดจากเกษตรกรทั้งในและนอกเขตปฏิรูปที่ดิน มาใช้ประโยชน์ในแปลงเกษตร โดยพื้นที่บางส่วนของบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น คาบเกี่ยวรุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน


ดังนั้น เมื่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) แจ้งให้บริษัทเอี่ยมเฮงฯ ปฏิบัติตาม คำพิพากษา ซึ่งจะเป็นผลให้บ่อบำบัดน้ำเสียที่เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรต้องถูกฝังกลบ และไม่สามารถใช้ทำการเกษตรได้ เกษตรกรจึงขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ จึงเกิดกรณีข้อขัดแย้งและการร้องทุกข์เพื่อของดการฝังกลบบ่อบำบัดน้ำเสียให้คงอยู่ เพื่อการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชนร่วมกัน

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ได้รับทราบผลการ ตรวจสอบของคณะอนุกรรมการ ที่ผ่านมา ส.ป.ก. ได้หารือกรณีที่จะไม่ทำการกลบบ่อบำบัดน้ำเสียกับกระทรวงการคลัง ปรากฏผลตามหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0410.2/3376 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ว่า การงดดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น ส.ป.ก. สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาอำนาจหน้าที่และความจำเป็นที่ต้องจัดบ่อน้ำในพื้นที่ว่าเป็นเท่าใดและจะงดการบังคับคดีบางส่วน โดย ผ่อนผันงดเว้นการถมบ่อเฉพาะจำนวนเท่าที่ ส.ป.ก. เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ต่อทางราชการที่จะไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขุดบ่อน้ำเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ โดยบ่อน้ำที่ได้รับการผ่อนผันต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและหากจำเป็นต้องมีการซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้บริษัท เป็นผู้รับผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

นายชาญชัย อติวรรณาพัฒน์ หัวหน้าโครงการเสิงสางโมเดล และ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่ภาคกลาง สำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พื้นที่โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม และกิจการโรงงานต้องนำน้ำดี จากลำปลายมาศเข้ามาใช้ดำเนินการผลิต ทำให้มีน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตลงสู่พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งโรงงานได้มีมาตรฐานการบำบัดและระบายน้ำเสียที่บำบัดแล้วออกจากโรงงานในปี 2545 ต่อมาเกษตรกรในพื้นที่ได้รวมตัวและจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร "ชุมชนคนรักการเกษตร" ขึ้น ซึ่งมีสมาชิกเริ่มต้น จำนวน 18 ครัวเรือน นำน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วและได้รับรองคุณภาพว่าปลอดภัย สามารถทำการเกษตรได้ ไปใช้ประโยชน์ทำการเกษตรในกลุ่มของตนเอง ส่งผลให้พืชที่เพาะปลูกเจริญงอกงามและได้ผลผลิตดี หลังจากนั้นจึงเกิดการขยายตัวของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น มีสมาชิก 250 ครัวเรือน และในปี พ.ศ. 2550 ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็น"วิสาหกิจชุมชน คนรักการเกษตรเอี่ยมเฮง"

ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนคนรักการเกษตรเอี่ยมเฮง ได้มีการพัฒนาระบบการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาจัดสร้างหอถังส่งน้ำและท่อส่งน้ำ กระจายไปสู่แปลงเกษตรกรรมที่อยู่ห่างไกลจากบ่อบำบัดน้ำเสีย (ขนาดท่อน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว ความหนาของ ท่อน้ำ 2 มิลลิเมตร ระยะทาง 5 กิโลเมตร) ทำให้จำนวนเกษตรกร และพื้นที่เกษตรกรรม ที่ได้รับประโยชน์ขยายวงกว้างไปอีก 378 ครัวเรือน ในพื้นที่กว่า 3,000 ไร่

ด้านนายโปรย ปราสาทกลาง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักการเกษตรเอี่ยมเฮง และเป็นเกษตรกรที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ต.กุดโบสถ์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เล่าให้ฟังว่า เดิมพื้นที่แถบนี้ทำการเกษตรไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากอยู่นอกเขตชลประทาน แห้งแล้ง ขาดน้ำในการทำการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งมันสำปะหลังให้ผลผลิตเพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่หลังจากมีบ่อบำบัด น้ำเสียของ บริษัท เอี่ยมเฮงฯ เกษตรกรจึงสามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะสามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำพืชผักที่ปลูกไว้ ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

"ทุกวันนี้โอกาสขาดทุนก็ไม่มี เนื่องจากในน้ำที่ผ่านการบำบัดมี แร่ธาตุและฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย อีกทั้งยังมีรายได้จากการขายพืชผักต่างๆ เช่น ผักชี หัวหอม กระเทียม ข้าวโพดหวาน และกะหล่ำปลี วันละ ประมาณ 1,300 บาท ส่งผลให้ปัจจุบันมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ชีวิตมีความสุขมากขึ้น" นายโปรย กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  พฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555

"เดอะโต้ง"รับกลางสภา กราบนายทุนมันสำปะหลังชื่อ"สุกิจ หวั่งหลี"จริงเพราะเป็นเจ้านายเก่าที่เคารพ



กิตติรัตน์ ณ ระนอง


เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 27 พฤศจิกายน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญทั่วไป เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายบุคคล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ชี้แจงกรณีที่ถูกนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายพาดพิงเกี่ยวกับการรับจำนำมันสำปะหลัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนว่า มีบุคคลไปเปิดงานที่โคราช แล้วคุกเข่าก้มลงกราบบุคคลหนึ่งชื่อย่อ “ส” นามสกุล “ห” เขาก็รู้กันทั้งนั้นว่าบุคคลที่ไปเปิดงานเป็นใคร ตนยอมรับว่าไปเปิดงานที่โคราชจริงและบุคคลที่ตนคุกเข่ากราบนั้นเป็นบุคคลที่วงการมันสำปะหลังนับถือมากชื่อ นายสุกิจ หวั่งหลี เจ้าของบริษัท พูลผล จำกัด ตนเคยทำงานในบริษัทนี้เป็นเวลา 3 ปี จึงไม่ละเลยที่จะชื่นชมผลงานและการบริหารของคนคนนี้ ท่านเป็นบุคคลที่ตนให้ความเคารพนับถือและพึงได้รับการนับถือจริง อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ไม่ได้นำเรื่องความสนิทสนม ไม่ได้นำมาเป็นเรื่องการให้ประโยชน์ ให้คุณให้โทษกับใคร

ที่มา : Matichon Online วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

link youtube ฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.พุทธิพงษ์ และการชี้แจงของ ฯพณฯ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ตาม link ด้านล่าง
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.พุทธิพงษ์ 
การชี้แจงของ ฯพณฯ กิตติรัตน์ ณ ระนอง

โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2555/56



คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานครั้งที่ 16/2555 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ดังนี้

1.   อนุมัติเป้าหมายการรับจำนำมันสำปะหลัง ในจำนวน 10 ล้านตัน เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และให้ปรับลดวงเงินค่าใช้จ่ายลงตามสัดส่วนของปริมาณเป้าหมายที่ลดลง โดยให้ใช้งบประมาณจากกรอบวงเงินเดิม 410,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ซึ่งหากมีความจำเป็นสามารถขอขยายเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อไม่ให้กรอบวงเงินค่าใช้จ่ายสูงเกินไปและส่งผลต่อกรอบวงเงินของสินค้าเกษตรชนิดอื่น ประกอบกับราคามันสำปะหลังในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับราคารับจำนำ ทั้งนี้ ควรดำเนินการรับจำนำเมื่อราคามันสำปะหลังลดต่ำกว่าเกณฑ์ราคาที่กำหนดตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร

2.   มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการดังนี้

​(1) ปรับลดวงเงินจ่ายขาด จำนวน 5,223.056 ล้านบาท ให้สอดคล้องกับปริมาณเป้าหมาย รวมทั้งปรับลดค่าแปรสภาพให้สอดคล้องกับการนำผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดไปผลิตเป็นเอทานอลโดยตรง โดยอัตราค่าใช้จ่ายจ่ายขาดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งเงินจากการจำหน่ายสินค้าตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในทันทีและ/หรือภายใน 3 วันทำการ โดยยึดแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
(3) จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับปริมาณสต๊อกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และแผนการระบายมันสำปะหลัง รวมทั้งร่วมกับกระทรวงพลังงานในการจัดทำแผนการใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอล

3.   มอบหมายให้กระทรวงพลังงานจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง รวมทั้งผู้ประกอบการด้านพลังงานเพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและการส่งออกเอทานอลของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลดภาระการรับจำนำมันสำปะหลังของประเทศ






Powered by Allweb Technology.