
ll..สศก. เปิดโปรเจคใหญ่รุกศึกษาวิจัยโลจิสติกส์-โซ่อุปทาน 5 สินค้าเกษตร..ll
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลุยโปรเจคใหญ่ ร่วม สกว. ศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ” ของสินค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง แบบครอบคลุมทุกมิติ เผย ขณะนี้ลงนามร่วมกันแล้ว กำหนดระยะเวลาโครงการ 1 ปี เริ่ม 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2558
นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาการรวบรวมข้อมูลเรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านการเกษตรทั้งระดับมหภาคและจุลภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีอยู่จำกัด ไม่ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทานการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการจัดเก็บข้อมูลในมิติต้นทุนโลจิสติกส์เป็นสำคัญ ขณะที่การจัดทำข้อมูลโลจิสติกส์ในมิติอื่น โดยเฉพาะในมิติเวลา และมิติความน่าเชื่อถือยังมีน้อย จึงทำให้การจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรในช่วงที่ผ่านมา ยังคงเน้นการขับเคลื่อนเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ขณะที่ในหน่วยธุรกิจเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะผู้รวบรวม ผู้ประกอบการ โรงงานรับซื้อผลผลิต โรงงานแปรรูปและผู้ส่งออก ให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ครอบคลุมในมิติต่างๆ โดยเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตัวดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม จึงมีผลทำให้หน่วยธุรกิจเหล่านี้ สามารถมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้เฉลี่ยร้อยละ 75 ของมูลค่าเพิ่มในโซ่คุณค่าทั้งหมด ขณะที่เหลือร้อยละ 25 เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของเกษตรกร หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากการผลิตสินค้าเกษตรน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรยังจำกัดบทบาทของตนเองในขั้นตอนการผลิต ดังนั้น การที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และผลประโยชน์ทางการเกษตรในสัดส่วนที่มากขึ้นนั้น จะต้องให้เกษตรกรมีบทบาทในขบวนการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านการเกษตรให้มากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยระยะที่ 1 พ.ศ. 2550-2554 และระยะที่ 2 พ.ศ. 2556-2560 ได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต การให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระดับฟาร์ม การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของเกษตรกร และเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากโซ่อุปทาน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคเกษตรกรรม เพื่อยกระดับความสามารถของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรของประเทศ มีเป้าประสงค์เพื่อลดต้นทุนที่เกิดจากการบริหารจัดการในกระบวนการโลจิสติกส์การเกษตร และลดความสูญเสียจากการเน่าเสียของสินค้าจากกระบวนการเก็บรักษาและระบบขนส่งสินค้า
ดังนั้น เพื่อให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลระบบการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ตัวดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร (Logistics Performance Index : LPI) ที่สามารถสะท้อนพฤติกรรมที่แท้จริง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศคำนวณได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สศก. จึงเห็นควรมีการศึกษาแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตามกิจกรรมในโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและหน่วยธุรกิจการเกษตร ประกอบด้วยสินค้าเกษตรสำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ผัก (หน่อไม้ฝรั่ง) และผลไม้ (ทุเรียน) ครอบคลุมในมิติที่สำคัญประกอบด้วย มิติด้านต้นทุน มิติด้านเวลา และมิติด้านความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการเกษตรตลอดโซ่อุปทานสินค้าเกษตรเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีความแตกต่างกันของพืชเศรษฐกิจแต่ประเภท ได้แก่ สายพันธุ์พืช พื้นที่ศึกษา และขนาดของกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำไปสู่การกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนงาน/โครงการ เพื่อยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตรของประเทศต่อไป
ทั้งนี้ สศก. ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อดำเนิน“โครงการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ” ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง ระยะเวลาโครงการ 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2558) ซึ่งขณะนี้ ได้มีการลงนามในสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย เรียบร้อยแล้ว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลุยโปรเจคใหญ่ ร่วม สกว. ศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ” ของสินค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง แบบครอบคลุมทุกมิติ เผย ขณะนี้ลงนามร่วมกันแล้ว กำหนดระยะเวลาโครงการ 1 ปี เริ่ม 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2558
นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาการรวบรวมข้อมูลเรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านการเกษตรทั้งระดับมหภาคและจุลภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีอยู่จำกัด ไม่ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทานการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงเน้นการจัดเก็บข้อมูลในมิติต้นทุนโลจิสติกส์เป็นสำคัญ ขณะที่การจัดทำข้อมูลโลจิสติกส์ในมิติอื่น โดยเฉพาะในมิติเวลา และมิติความน่าเชื่อถือยังมีน้อย จึงทำให้การจัดทำแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรในช่วงที่ผ่านมา ยังคงเน้นการขับเคลื่อนเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ขณะที่ในหน่วยธุรกิจเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะผู้รวบรวม ผู้ประกอบการ โรงงานรับซื้อผลผลิต โรงงานแปรรูปและผู้ส่งออก ให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ครอบคลุมในมิติต่างๆ โดยเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตัวดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม จึงมีผลทำให้หน่วยธุรกิจเหล่านี้ สามารถมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้เฉลี่ยร้อยละ 75 ของมูลค่าเพิ่มในโซ่คุณค่าทั้งหมด ขณะที่เหลือร้อยละ 25 เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของเกษตรกร หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากการผลิตสินค้าเกษตรน้อยมาก เนื่องจากเกษตรกรยังจำกัดบทบาทของตนเองในขั้นตอนการผลิต ดังนั้น การที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และผลประโยชน์ทางการเกษตรในสัดส่วนที่มากขึ้นนั้น จะต้องให้เกษตรกรมีบทบาทในขบวนการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้านการเกษตรให้มากขึ้น
สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยระยะที่ 1 พ.ศ. 2550-2554 และระยะที่ 2 พ.ศ. 2556-2560 ได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต การให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระดับฟาร์ม การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของเกษตรกร และเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากโซ่อุปทาน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคเกษตรกรรม เพื่อยกระดับความสามารถของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรของประเทศ มีเป้าประสงค์เพื่อลดต้นทุนที่เกิดจากการบริหารจัดการในกระบวนการโลจิสติกส์การเกษตร และลดความสูญเสียจากการเน่าเสียของสินค้าจากกระบวนการเก็บรักษาและระบบขนส่งสินค้า
ดังนั้น เพื่อให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลระบบการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ตัวดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตร (Logistics Performance Index : LPI) ที่สามารถสะท้อนพฤติกรรมที่แท้จริง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศคำนวณได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน สศก. จึงเห็นควรมีการศึกษาแนวทางการจัดทำฐานข้อมูลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตามกิจกรรมในโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและหน่วยธุรกิจการเกษตร ประกอบด้วยสินค้าเกษตรสำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ผัก (หน่อไม้ฝรั่ง) และผลไม้ (ทุเรียน) ครอบคลุมในมิติที่สำคัญประกอบด้วย มิติด้านต้นทุน มิติด้านเวลา และมิติด้านความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการเกษตรตลอดโซ่อุปทานสินค้าเกษตรเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีความแตกต่างกันของพืชเศรษฐกิจแต่ประเภท ได้แก่ สายพันธุ์พืช พื้นที่ศึกษา และขนาดของกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำไปสู่การกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนงาน/โครงการ เพื่อยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตรของประเทศต่อไป
ทั้งนี้ สศก. ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อดำเนิน“โครงการศึกษาและวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญ” ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง ระยะเวลาโครงการ 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2558) ซึ่งขณะนี้ ได้มีการลงนามในสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย เรียบร้อยแล้ว
สศก. เผย FTAอาเซียน-เกาหลี พร้อมเดินหน้าเปิดเสรีตลาดสินค้าเพิ่มเติม
อนันต์ ลิลา
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เดินหน้าการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอา เซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี ระบุ ที่ผ่านมา ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าต่อเกาหลี เฉลี่ยมากกว่า 13,000ล้านบาทต่อปี สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาล ข้าว กากจากมันสำปะหลัง ไก่ปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็ง
นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มเติมภายใต้ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อจัดทำ Stocktaking ในส่วนของสินค้าเกษตรในเบื้องต้น เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับการจัดส่งรายการสินค้าที่สามารถเปิดตลาดได้เบื้องต้นให้กรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศนำรวมกับสินค้าอุตสาหกรรมที่สามารถเปิดเสรีเพิ่มเติมได้ อันเป็นการเตรียมการเปิดเสรีการค้าสินค้าของไทยเพิ่มเติม ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐ เกาหลี ครั้งที่ 10
ในเรื่องดังกล่าว อาเซียนและเกาหลีได้ลงนามการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับสาธารณรัฐ เกาหลีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยการเจรจาครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สำหรับความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้านั้น อาเซียน 9 ประเทศ และเกาหลีได้ลงนามเมื่อเดือนสิงหาคม 2549และมีผลใช้บังคับเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 สำหรับไทยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เนื่องจากในขณะนั้นไทยและเกาหลียังไม่สามารถตกลงกันได้ในสินค้าบางรายการ
หลัง จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน–เกาหลี มีผลใช้บังคับแล้ว ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีขึ้น และได้มีการประชุมมาแล้วถึง 10 ครั้ง โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า คือ ประเด็นเรื่องหลักการต่างตอบแทน ซึ่งเป็นหลักการที่กำหนดไว้ว่า หากประเทศใดต้องการจะส่งสินค้าเข้าไปยังประเทศคู่ภาคี หากสินค้านั้นเป็นสินค้าที่มีภาษีเป็นศูนย์แล้วในประเทศคู่ภาคี ประเทศนั้นจะต้องปรับอัตราภาษีของตนให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 เพื่อสามารถใช้สิทธิพิเศษทางภาษีในกรอบเจรจานี้ได้ (โดยมีเงื่อนไขด้วยว่า อัตรานั้นจะต้องเป็นอัตราที่ต่ำกว่า MFN ของประเทศคู่ภาคีด้วย) ซึ่งเกาหลีพยายามที่จะให้อาเซียนยกเลิกหลักการต่างตอบแทน อย่างไรก็ตาม ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ยังคงยืนยันในการใช้หลักการต่างตอบแทน
นอก จากนี้ ยังมีประเด็นการการทบทวนการเปิดตลาดเพิ่มเติมในรายการสินค้าอ่อนไหว โดยอาเซียนได้กำหนดการเปิดตลาดเพิ่มเติมที่ร้อยละ 2 ของรายการสินค้าทั้งหมดจากระดับการเปิดเสรีปัจจุบัน ซึ่งระดับการเปิดเสรีปัจจุบันในอาเซียนไม่เท่ากัน เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรจากปี 2007 เป็น 2012 ทำให้การเปิดตลาดที่เคยตกลงกันไว้เดิมทั้งอาเซียนและเกาหลีที่ร้อยละ 90 มีการเปลี่ยนแปลง โดยไทยมีการเปิดตลาดที่ร้อยละ 88 ดังนั้น การเปิดตลาดเพิ่มเติมอีกร้อยละ 2 จึงหมายถึงไทยเปิดตลาดที่ร้อยละ 90
สำหรับ มูลค่าการค้าสินค้าเกษตร (ไม่รวมยางพารา) ในปีช่วง 3 ปีที่ผ่านมาไทยและเกาหลีมีมูลค่าการค้าเฉลี่ย 29,536 ล้านบาทต่อปี โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 2.18 ต่อปี และที่ผ่านมาไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าต่อเกาหลีมาโดยตลอดเฉลี่ย 13,638 ล้านบาทต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 พบว่าไทยมีมูลค่าส่งออก 11,749 ล้านบาท (ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12,780ล้านบาท) และไทยมีมูลค่านำเข้า 2,658 ล้านบาท (ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5,156 ล้านบาท) ซึ่งไทยยังคงเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าต่อเกาหลี 9,091 ล้านบาท ทั้งนี้ สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญคือ น้ำตาล ข้าว กากจากมันสำปะหลัง ไก่ปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็ง ไขมันและน้ำมันจากพืช สตาร์ชจากมันสำปะหลัง ในขณะที่สินค้าเกษตรนำเข้าสำคัญคือ ปลาทูน่าท้องลาย ปลาทูน่าครีบเหลือง และสาหร่าย เป็นต้น
ที่มา ฐานเศรษฐฏิจ 25 กันยายน 2557
บิ๊กลานมันกาญจน์ทุ่ม100ล.
บิ๊กลานมันเมืองกาญจน์ทุ่มอีก 100 ล้านขยายธุรกิจมันเส้นสะอาดรับเออีซี ระบุช่วยป้องกันเกษตรกรในพื้นที่ถูกพ่อค้าเพื่อนบ้านกดราคารับซื้อ เผยเน้นขายในประเทศส่งโรงงานเอทานอลและโรงงานอาหารสัตว์ ชี้อนาคตสดใสหลังวัตถุดิบข้าวโพดขาดแคลน
นายวันชัย วิริยาทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการลานมันชัยเรืองกิจ ผู้ผลิตและจำหน่าย มันเส้นสะอาด รายใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ในปีหน้า ลานมันชัยเรืองกิจได้เตรียมความพร้อมโดยการขยายลานมันเพิ่มอีก1 แห่งที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี บนพื้นที่190ไร่ มูลค่าลงทุนประมาณ100 ล้านบาท กำลังการผลิต 800-1 พันตันต่อวัน คาดจะสามารถเปิดรับมันสำปะหลังจากพื้นที่ใกล้เคียงได้ประมาณปีหน้า
ทั้งนี้การขยายกิจการดังกล่าวเพื่อรองรับปริมาณมันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีรวมถึงในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีมากขึ้น รวมถึงป้องกันการกดราคารับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจากเวียดนามที่จะกดราคามันสำปะหลังจากเกษตรกรไทย สำหรับลานมันของตนถือว่าเป็นลานมันเส้นสะอาดแห่งแรกของจังหวัด โดยมีโรงงานผลิตมันเส้นสะอาด2 แห่ง บนพื้นที่แห่งละ200ไร่ มีกำลังการผลิตวันละ 800-1 พันตัน โดยจะเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศมากกว่ากว่าส่งออกเนื่องจากว่าความต้องการในประเทศยังมีอยู่มาก และไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งในแต่ละปีประทศไทยใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมอาหารปีละ 40 ล้านตัน ขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลังมีเพียง 30 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ทำให้ต้องมีการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาบางส่วน
"ลานมันที่ดำเนินการในขณะนี้แบ่งเป็นส่งให้โรงงานเอทานอล 70% และให้โรงงานอาหารสัตว์ 30% ซึ่งความต้องการมีมากขึ้นเพราะข้าวโพดอาหารสัตว์เริ่มขาดตลาดส่งผลให้ผู้ประกอบการอาหารสัตว์หันมาให้มันสำปะหลังผลิตเป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น สำหรับราคารับซื้อเพื่อผลิตเป็นเอทานอลอยู่ที่ 6.80 บาทต่อกิโลกรัม มันเส้นอยู่ที่6.30บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้เอกชนต้องการให้รัฐเข้ามาส่งเสริมการผลิตต่อไร่ให้เพิ่มขึ้นรวมถึงหาตลาดให้กับผู้ประกอบการ"
ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการผลิตมันเส้นที่มีคุณภาพสะอาดเพราะราคายังดีอยู่และคู่แข่งอย่างกัมพูชาและเวียดนามยังมีผลผลิตออกมาน้อยไม่พอกับความต้องการของตลาดทำให้ไทยยังเป็นอันดับ1ในการเป็นผู้ส่งออกมันเส้นไปจีนแต่ในอนาคตก็ไม่แน่หากจีนเลือกที่จะนำเข้าผ่านชายแดนเวียดนามโดยกองทัพมดไทยอาจจะได้รับผลกระทบ ดังนั้นไทยจะต้องรักษาตลาดส่งออกมันสำปะหลังเอาไว้ให้ได้ โดยต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับไปสู่การแข่งขันที่เน้นการผลิตเชิงคุณภาพมากกว่าเน้นปริมาณ การลดต้นทุนการผลิต รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบโดยภาครัฐต้องเข้ามาส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการผลิตมันเส้นที่มีสิ่งเจือปนมากให้หันมาผลิตมันเส้นที่สะอาด รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตหัวมันที่มีคุณภาพ มีผลผลิตต่อไร่สูง และที่สำคัญคือพยายามทำให้ผลผลิตกับราคาอยู่ในภาวะที่แข่งขันในตลาดโลกได้ และระบุอีกว่าการทำให้สินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาดนั้น ทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันและเกษตรกรมีการปรับตัวในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ 17กันยายน2557
สศก.คาดแนวโน้ม สินค้าภาค“เกษตร” ยังขยายตัวต่อเนื่อง “ประมง”ยังหดตัว
นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ผลการประมาณการเติบโตภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2557 หรือระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนที่ผ่านมา พบว่า ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.9 โดยสาขาที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ขยายตัว คือ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ส่วนสาขาประมงและสาขาบริการทางการเกษตร หดตัว
โดยสาขาพืชขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 พืชที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และผลไม้ ด้านราคาสินค้าพืชที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน ส่วนการส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ขณะที่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และน้ำมันปาล์ม การส่งออกลดลง
สาขาปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยปริมาณการผลิตไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น โดยสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่สาขาประมงหดตัวร้อยละ 1.7 และผลผลิตกุ้งยังออกสู่ตลาดน้อยจากปัญหาโรคตายด่วน แต่ก็ช่วยให้ราคาขายปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.11
สำหรับนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1 - 3.1 โดยสาขาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และป่าไม้ ส่วนสาขาประมงยังคงหดตัว ผลผลิตพืช เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า 23 กันยายน 2557