Company Logo





พยากรณ์อากาศ

พาณิชย์มั่นใจ! แนวโน้มการส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไปจีนสดใส กำชับจนท. เดินหน้า “มหาสารคามโมเดล”

 

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดคณะเดินทางนำผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลัง เยือนมณฑลเจียงซูและมณฑลซานตง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 7 – 12 สิงหาคม 2560 เพื่อไปติดตามสถานการณ์ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในประเทศจีน พร้อมหารือผู้นำเข้ารายใหญ่ของจีน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวลือที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดคณะเดินทางนำผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลัง เยือนมณฑลเจียงซูและมณฑลซานตง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 7 – 12 สิงหาคม 2560 เพื่อไปติดตามสถานการณ์ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในประเทศจีน พร้อมหารือผู้นำเข้ารายใหญ่ของจีน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวลือที่ส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย

          ผลจากการจัดคณะเดินทางฯ ทำให้ทราบสถานการณ์การค้าสินค้ามันสำปะหลังและธัญพืชทดแทนของจีน ว่าใน ปี 2559/60 รัฐบาลจีนมีเป้าหมายลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดรวมไม่น้อยกว่า 50 ล้านหมู่ (20.8 ล้านไร่) และส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ถั่วเหลือง ประกอบกับรัฐบาลจีนได้ยกเลิกนโยบายการรับซื้อข้าวโพดในเขตภาคอีสานและมองโกเลีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญของจีน และหันมาใช้มาตรการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ประกอบการแปรรูปข้าวโพดแทน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ส่งผลให้ในฤดูกาลถัดไป คาดว่าไทยจะส่งออกสินค้ามันเส้นไปจีนได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงกดดันจากปริมาณสต็อกข้าวโพดของจีนลดลง

          โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาด มักจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย เช่น ข่าวลือเกี่ยวกับการปิดท่าเรือบางแห่งของจีน เนื่องจากปัญหามลภาวะที่เกิดจากการขนถ่ายมันสำปะหลัง ซึ่งทางกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดคณะเดินทางฯ เพื่อร่วมกันหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว ไม่พบข้อมูลการปิดท่าเรือแต่อย่างใด นอกจากนี้ ท่าเรือหลักที่นำเข้ามันสำปะหลังจากไทย เช่น ท่าเรือเหลียนหยุนก่างและท่าเรือรื่อจ้าว ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องมือดูดละอองฝุ่นที่ฟุ้งกระจายระหว่างการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะซึ่งปัจจุบันรัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

           ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาแอลกอฮอล์ของจีนได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560 แอลกอฮอล์ (95%) ของมณฑลเจียงซู ประเทศจีน มีราคาอยู่ที่ 5,050 หยวน/ตัน ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 390 หยวน/ตัน เมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2560 ที่ราคา 4,660 หยวน/ตัน

        นางอภิรดีกล่าวถึงแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังว่า ได้มอบนโยบายให้ผู้บริหารลงพื้นที่แหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังเพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และชี้แจงสร้างความเข้าใจมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมการค้าภายใน ได้ดำเนินการ ตามนโยบายดังกล่าวแล้วในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดมหาสารคาม อุบลราชธานี กำแพงเพชร เป็นต้น

         โดยจากการลงพื้นที่ในจังหวัดมหาสารคาม พบว่าเกษตรกรมีการบริหารจัดการมันสำปะหลังและเชื่อมโยงผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ในรูป “มหาสารคามโมเดล” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงรับซื้อมันเส้นของกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อ กับ กลุ่มเกษตรกร ในการสร้างช่องทางการจำหน่าย การรวมกันซื้อรวมกันขาย และช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลัง ภายใต้แนวคิด “โคนมมหาสารคาม ต้องกินมันมหาสารคาม เพื่อคนมหาสารคามจะได้กินนมโคมหาสารคาม” ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีดำริให้นำโมเดลดังกล่าวไปเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นต่อไป

         นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560 จังหวัดนครราชสีมาได้นำ “มหาสารคามโมเดล” ไปดำเนินการแล้ว โดยกรมการค้าภายใน ได้จัดให้มีการเชื่อมโยงมันเส้นและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างโรงงานเอทานอล สหกรณ์โคนม กับสถาบันเกษตรกร ปริมาณมันเส้นประมาณ 21,500 ตัน ซึ่งตนได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามฯ หลังจากนี้ จ.นครราชสีมาจะขยายผลการดำเนินการต่อไปในอนาคต

        นอกจากนี้ ยังได้เป็นประธานการประชุมร่วมกับหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจการค้า โดยในการประชุมดังกล่าว ได้ประชาสัมพันธ์แนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลัง ปี 2560/61 จำนวน 14 โครงการ ที่ได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาส ครม.สัญจร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ซึ่ง ครม. ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการแล้ว

       พร้อมนี้ยังได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลังและการดูแลเกษตรกรเพิ่มเติม ในการ ส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิต โดยใช้พันธุ์มันสำปะหลังที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และเหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งปรับเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนได้แล้ว ยังเป็นการบำรุงดินให้มีสภาพที่ดีและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก และ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ซึ่งเป็นทางเลือกในการปลูกมันสำปะหลังที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและตลาดมีความต้องการสูง พร้อมทั้งส่งเสริมการแปรรูปมันสำปะหลังเพื่อการบริโภค (มันกินได้) เพื่อสร้างช่องการจำหน่ายใหม่ๆให้แก่เกษตรกร นอกเหนือจากการผลิตเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมในรูปแบบเดิม ซึ่งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยินดีที่จะประสานผู้ประกอบการในพื้นที่ที่มีศักยภาพและสนใจนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป

          สำหรับแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลัง ปี 2560/61 มติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลัง ปี 2560/61 รวม 14 โครงการ งบประมาณ 551.659 ล้านบาท


1) การสนับสนุนเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดินดาน

2) การปรับลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ป่า

3) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด วงเงิน 102.35 ล้านบาท

4) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (33.375 ล้านบาท)

5) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลัง (44.5 ล้านบาท)

6) โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

7) โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง (328.340 ล้านบาท)

8) โครงการสนับสนุนเครื่องสับมันสำปะหลังให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มมูลค่า (4.2 ล้านบาท)

9) โครงการสนับสนุนเครื่องสับมันสำปะหลังขนาดเล็กให้วิสาหกิจชุมชน (6.75 ล้านบาท)

10) โครงการสนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุกให้ด่านที่มีการนำเข้ามันสำปะหลัง (12.84 ล้านบาท)

11) โครงการกำกับดูแลการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน (5.804 ล้านบาท)

12) โครงการแปรรูปมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (10 ล้านบาท)

13) โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (มันเส้นสะอาด) (1.5 ล้านบาท)

14) โครงการขยายโอกาสทางการค้าและพัฒนาศักยภาพผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (2 ล้านบาท)

ที่มา ประชาชติธุรกิจออนไลน์ (30 ส.ค. 2560)

 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 สิงหาคม 2560

 

วันนี้ (22 สิงหาคม 2560) เวลา 09.00 น.
ณ ห้องสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมพันเอกอธิสิทธิ์ ไชยนุวัติผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

ดาวน์โหลดสรุปสาระสำคัญ>>>>>>

พณ.ชงครม.แนวทางปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมเสนอแนวทางการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ ครม.รับทราบ

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอ ที่ประชุม ครม.ในวันนี้ เพื่อพิจารณาแนวทางการดูแลส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเป็นจำนวนมาก เมื่อส่งเสริมให้มีการปลูกแบบอินทรีย์ จะสามารถทำรายได้ได้มากขึ้น เป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรรายอื่น จึงได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดูแลตั้งแต่ต้นพันธุ์ การเพาะปลูก โดยกระทรวงพาณิชย์จะดูแลในด้านตลาด เพื่อให้เป็นระบบแบบครบวงจร ส่งเสริมคุณภาพมันสำปะหลังให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังผลักดันเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เพื่อขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) เสนอ ครม.รับทราบถึงคืบหน้าในการขึ้นทะเบียนด้ว

ที่มา :  INN 22 สิงหาคม พ.ศ.2560

“อภิรดี” เป็นพยานการลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

 

“อภิรดี” ประชุมร่วมกับหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาเพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัด พร้อมเป็นสักขีพยานลงนาม MOU การซื้อขายมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระหว่างเกษตรกรกับภาคเอกชน
       
       นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 20 ส.ค. 2560 ได้ประชุมร่วมกับหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เพื่อติดตามสถานการณ์ และแนวโน้มเศรษฐกิจการค้าของจังหวัด ณ ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) แนวทางความร่วมมือระหว่างสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 1 ฉบับ เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับสภาวะความต้องการของตลาดโลก โดยใช้กลไกของภาคเอกชน
       
       นอกจากนี้ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงตลาดมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือองค์กรธุรกิจ ให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตร ให้มีการรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็ง และการผลักดันให้องค์กรธุรกิจภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือ และยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ผลผลิตภายในประเทศ เพื่อช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรในประเทศให้สูงขึ้น
       
       โดยมีหลักการและรายละเอียด ดังนี้ 1. สินค้ามันสำปะหลัง จะมีการเชื่อมโยงตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (มันเส้น) จากกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน เข้าสู่อุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้น เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน (เอทานอล) ธุรกิจอาหารสัตว์หรือปศุสัตว์ เป็นต้น โดยบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด (เอทานอล) ตกลงจะทำการซื้อขายมันเส้นจากสหกรณ์การเกษตรด่านขุนทด จำนวน 10,000 ตัน และสหกรณ์การเกษตรเทพารักษ์ จำนวน 10,000 ตัน สหกรณ์โคนม-เดนมาร์ก มิตรภาพ (จ.สระบุรี) ตกลงจะทำการซื้อขายมันเส้นจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) นครราชสีมา จำกัด จำนวน 1,500 ตัน ในราคานำตลาด
       
       2. สินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นการเชื่อมโยงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (เกษตรกร-ผู้รวบรวม-โรงงานอาหารสัตว์) ให้เกิดการซื้อขายที่เป็นธรรม โดย หจก.ตรงพานิชตกลงจะทำการซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แห้ง เบอร์ 2 ความชื้น 14.5% ที่ราคา 8 บาท/กก. จากสหกรณ์การเกษตรนิคมลำตะคอง จำนวน 10,000 ตัน และสหกรณ์การเกษตรปากช่อง จำนวน 5,000 ตัน 

ที่มา : MGR Online 20 ส.ค. 2560

​“พาณิชย์”นำคณะพบผู้นำเข้าจีน พิสูจน์ข่าวลือทุบราคามันสำปะหลัง ยันไม่มีการสั่งปิดท่าเรือใดๆ ทั้งสิ้น ไทยยังส่งออกได้ปกติ

 

“พาณิชย์”โต้ข่าวลือทุบราคามันสำปะหลังช่วงต้นฤดูกาล นำคณะผู้ประกอบการไทยไปพบผู้นำเข้าจีนถึงที่ ยันไม่มีการสั่งปิดท่าเรือ โดยอ้างปัญหามลภาวะตอนขนถ่ายสินค้า ย้ำบริษัทรายใหญ่ของจีนยังต้องการนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยต่อเนื่อง และยังนำเข้าเพิ่มขึ้น พร้อมเตือนผู้ส่งออกต้องรักษาคุณภาพ มาตรฐาน ให้ดีต่อเนื่อง

นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับผู้แทนสมาคมสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทยและสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทยเดินทางไปยังจีน เพื่อติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ณ มณฑลเจียงชู และมณฑลซานตง ซึ่งเป็นมณฑลที่มีการนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยเป็นลำดับที่ 1 และ 2 หลังจากที่มีข่าวลือออกมาว่าจะมีการปิดท่าเรือบางแห่ง เนื่องจากปัญหามลภาวะที่เกิดจากการขนถ่ายมันสำปะหลัง ณ ท่าเรือ ทำให้มีผลกระทบต่อราคามันสำปะหลังของไทย ซึ่งจากการไปพบหาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด ทางผู้นำข้าวของจีนยังคงยืนยันการนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยอย่างต่อเนื่อง
       
“หลายปีที่ผ่านมา ในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาด มักจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา กระทรวงฯ ได้จัดคณะเดินทางร่วมกับผู้แทนจากสมาคมมันสำปะหลังเพื่อร่วมกันหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าไม่พบข้อมูลการปิดท่าเรือแต่อย่างใด”นายวินิจฉัยกล่าว
       
ทั้งนี้ คณะได้เข้าพบหารือกับผู้บริหารมณฑลซานตง เพื่อหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และหารือแนวทางกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้มีการขยายการค้าระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น และยังได้ทราบข้อมูลว่าท่าเรือหลายแห่ง เช่น ท่าเรือเหลียนหยุนก่างและท่าเรือรื่อจ้าว ได้มีการดำเนินการติดตั้งเครื่องมือดูดละอองฝุ่นที่ฟุ้งกระจายระหว่างการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลจีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
       
ขณะเดียวกัน คณะยังได้หารือร่วมกับผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายสำคัญของจีน ได้แก่ 1.บริษัท Fulaichun Group มีการนำเข้าเพื่อผลิตเป็นแอลกอฮอล์สำหรับบริโภค โดยปี 2559 นำเข้า 0.8 ล้านตัน โดยบริษัทมีนโยบายที่จะเพิ่มการนำเข้าเป็น 1 ล้านตันในปี 2560 และ 1.2 ล้านตัน ในปี 2561 2.บริษัท Hongda Group มีการนำเข้าเพื่อผลิตเป็นเคมีภัณฑ์ และมีการนำเข้าปีละ 0.8 ล้านตัน โดยบริษัทยืนยันไม่มีนโยบายลดการนำเข้าแต่อย่างใด

นายวินิจฉัยกล่าวว่า กระทรวงฯ ขอความร่วมมือให้ผู้ส่งออกมันสำปะหลังไทยให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานสินค้า เพื่อร่วมกันผลักดันให้การค้ามันสำปะหลังของไทยและจีนมีการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป เพราะมันสำปะหลังเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งในแต่ละปีสามารถนำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท และที่สำคัญสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของไทยกว่า 5 แสนครัวเรือน รวมถึงผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกกว่าล้านครัวเรือน

สำหรับการส่งออกมันสำปะหลัง 6 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 1,371.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เป็นต้น

ที่มา : CNA (Commerce News Agency) 19






Powered by Allweb Technology.