
ชาวไร่มัน เฮ! ครม. เคาะงบ 368 ล้าน รักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบ 368 ล้าน รักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ผ่าน 4 โครงการ ช่วยเหลือชาวไร่มัน ลดต้นทุนเกษตรกร
วันนี้ (17 ธันวาคม 2567) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสําปะหลังตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังโดยไม่เร่งระบายผลผลิต รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและสร้างศักยภาพการแปรรูปของเกษตรกร ในการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2567/68 วงเงิน 300 ล้านบาท
สนับสนุนดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้ง โรงงานเอทานอลที่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรับซื้อมันสำปะหลังและแปรรูปเก็บสต็อกในรูปแบบมันเส้นหรือแป้งมัน เป็นระยะเวลา 60 - 180 วัน เพื่อดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด เป้าหมาย 6 ล้านตันหัวมันสด รัฐชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต็อก และมีระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2568 ระยะเวลาเก็บสต็อก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2568 ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติ – 31 ตุลาคม 2569
2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2567/68 วงเงิน 17.50 ล้านบาท
ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด มันสำปะหลังเส้นจากเกษตรกร สถาบันเกษตรกรที่ดำเนินกิจการโดยมีสมาชิกประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก เพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง เป้าหมาย วงเงินกู้ 500 ล้านบาท ผลผลิตประมาณ 200,000 ตัน อัตราดอกเบี้ยโครงการฯ ร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐสนับสนุนดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3.5 ต่อปี ระยะเวลา 12 เดือน ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.มีมติ – 30 มิถุนายน 2569
3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2567/68 วงเงิน 41.40 ล้านบาท
ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง เป้าหมายเกษตรกร 3,000 ราย รายละไม่เกิน 230,000 บาท วงเงินกู้รวม 690 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยโครงการฯ เท่ากับ MRR และรัฐรับภาระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี เกษตรกรรับภาระในอัตรา MRR – 3 ระยะเวลา 24 เดือน กำหนดระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.มีมติ – 31 ตุลาคม 2570
4. โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง (เครื่องสับมันฯ) วงเงิน 10 ล้านบาท
สนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อจัดหาเครื่องสับมันสำปะหลังขนาดเล็กพร้อมเครื่องยนต์ และอุปกรณ์สำหรับตากมันเส้น เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท เป้าหมาย 650 เครื่อง ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.อนุมัติ – 30 กันยายน 2568
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมของบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไปก่อนในช่วงที่ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดมากนี้ ให้ผลผลิตมีเชื้อแป้งและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรขายได้ราคา โดยจะสนับสนุนให้ใช้สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างรอการเก็บเกี่ยว โดยรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยให้ส่วนหนึ่ง คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ภายในสัปดาห์หน้า
"รัฐบาลนำโดยท่านนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลราคาสินค้าเกษตรทุกตัวให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เอง ก็จะเร่งดำเนินมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของราคา และขอให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน" นายพิชัย กล่าว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายพิชัยได้หารือกับนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ขอให้ผู้นำเข้าจีนช่วยรับซื้อมันสําปะหลังของไทย ที่ผลผลิตกำลังจะออกมามากในช่วงนี้ ทั้งยังได้ประสานขอให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในไทย ให้ช่วยกันใช้ส่วนผสมจากมันสำปะหลังในการผลิตเยอะขึ้นด้วย
ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/614732
ครม.เคาะงบกว่า 368 ล้านบาท รักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ช่วยเหลือชาวไร่มัน ลดต้นทุนเกษตรกร
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (17 ธ.ค. 67) ที่นำโดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสําปะหลังตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังโดยไม่เร่งระบายผลผลิต รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและสร้างศักยภาพการแปรรูปของเกษตรกร ในการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2567/68 วงเงิน 300 ล้านบาท โดยสนับสนุนดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการลานมัน โรงแป้ง โรงงานเอทานอลที่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรับซื้อมันสำปะหลังและแปรรูปเก็บสต็อกในรูปแบบมันเส้นหรือแป้งมัน เป็นระยะเวลา 60 - 180 วัน เพื่อดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด เป้าหมาย 6 ล้านตันหัวมันสด รัฐชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต็อก และมีระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2568 ระยะเวลาเก็บสต็อก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2568 ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติ – 31 ตุลาคม 2569
2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2567/68 วงเงิน 17.50 ล้านบาทโดย ธ.ก.ส.สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด มันสำปะหลังเส้นจากเกษตรกร สถาบันเกษตรกรที่ดำเนินกิจการโดยมีสมาชิกประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก เพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง เป้าหมาย วงเงินกู้ 500 ล้านบาท ผลผลิตประมาณ 200,000 ตัน อัตราดอกเบี้ยโครงการฯ ร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐสนับสนุนดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3.5 ต่อปี ระยะเวลา 12 เดือน ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.มีมติ – 30 มิถุนายน 2569
3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2567/68 วงเงิน 41.40 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง เป้าหมายเกษตรกร 3,000 ราย รายละไม่เกิน 230,000 บาท วงเงินกู้รวม 690 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยโครงการฯ เท่ากับ MRR และรัฐรับภาระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี เกษตรกรรับภาระในอัตรา MRR – 3 ระยะเวลา 24 เดือน กำหนดระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.มีมติ – 31 ตุลาคม 2570
4. โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง (เครื่องสับมันฯ) วงเงิน 10 ล้านบาท โดยเป็นการสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อจัดหาเครื่องสับมันสำปะหลังขนาดเล็กพร้อมเครื่องยนต์ และอุปกรณ์สำหรับตากมันเส้น เครื่องละไม่เกิน 15,000 บาท เป้าหมาย 650 เครื่อง ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ ครม.อนุมัติ – 30 กันยายน 2568
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมของบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังไปก่อนในช่วงที่ผลผลิตกำลังจะออกสู่ตลาดมากนี้ ให้ผลผลิตมีเชื้อแป้งและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรขายได้ราคา โดยจะสนับสนุนให้ใช้สินเชื่อจาก ธ.ก.ส. เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างรอการเก็บเกี่ยว โดยรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยให้ส่วนหนึ่ง คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ภายในสัปดาห์หน้า
“รัฐบาลนำโดยท่านนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลราคาสินค้าเกษตรทุกตัวให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เอง ก็จะเร่งดำเนินมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของราคา และขอให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน“นายพิชัย กล่าว
โดยก่อนหน้านี้นายพิชัยได้หารือกับนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ขอให้ผู้นำเข้าจีนช่วยรับซื้อมันสําปะหลังของไทย ที่ผลผลิตกำลังจะออกมามากในช่วงนี้ ทั้งยังได้ประสานขอให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในไทย ให้ช่วยกันใช้ส่วนผสมจากมันสำปะหลังในการผลิตเยอะขึ้นด้วย
ที่มา : https://www.banmuang.co.th/mobile/news/politic/410231
บอร์ด ธ.ก.ส. เคาะงบ 3,255 ล้าน ช่วยชาวไร่มันสำปะหลังชะลอเก็บเกี่ยวหน้าแล้ง
บอร์ด ธ.ก.ส. ไฟเขียวงบ 3,255 ล้านบาท เดินหน้ามาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. (บอร์ด ธ.ก.ส.) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2566/2567 ตามนโยบายรัฐบาล วงเงินรวม 3,255 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อชะลอการเก็บเกี่ยวหัวมันสดในช่วงฤดูแล้งที่มีปริมาณเปอร์เซ็นต์แป้งลดต่ำลง โดยเฉลี่ยเหลือเพียง 10-15% จากเดิมที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-30% ทำให้ราคาที่เกษตรกรจำหน่ายลดต่ำลงและไม่คุ้มค่ากับการเพาะปลูก โดยมีเป้าหมายพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1,302,000 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศประมาณ 8 ล้านไร่ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จำนวนเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 65,100 ครัวเรือน
หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว จะมีปริมาณฝนมาทำให้หัวมันสดมีผลผลิตมากขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น โดยระหว่างนี้ ธ.ก.ส. จะสนับสนุนวงเงินสินเชื่อ เพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นเงินหมุนเวียนและเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในระหว่างการรอเก็บเกี่ยว
สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมมาตรการ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2566/67 กับกรมส่งเสริมการเกษตร สถานะเป็นลูกหนี้ชั้นปกติ และยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ในวงเงินไม่เกิน 2,500 บาทต่อไร่ พื้นที่สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน วงเงินรวม 5 หมื่นบาทต่อครัวเรือน
ขณะที่เกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี และส่วนที่เหลือรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกร กำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่กู้ โดยสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ ลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายรัฐบาลสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
ที่มา : https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/1328702/
คลอดแล้ว "มาตรการชะลอเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง" ปี 2566/67 เริ่มวันนี้
คลอดแล้ว "มาตรการชะลอเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง" ปี 2566/67 เริ่มวันนี้
ครม. เห็นชอบ มาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปี 2566/67 เริ่มต้นโครงการแล้วตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 30 เมษายน 2568 ธ.ก.ส. พร้อมจัดสินเชื่อกับเกษตรกร ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปี 2566/67 วงเงินงบประมาณ 56.96 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ เริ่มต้นโครงการแล้วตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 30 เมษายน 2568 โดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะให้สินเชื่อกับเกษตรกร ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน ไร่ละไม่เกิน 2,500 บาท
สำหรับมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปี 2566/67 มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเกษตรกรให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการเพาะปลูก โดยการชะลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ผ่านพ้นช่วงแล้ง ให้ได้รับฝนซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงขึ้น
รวมทั้งช่วยเหลือให้เกษตรกรมีเงินหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างรอการเก็บเกี่ยว โดยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรและยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตฤดูการผลิตปี 2566/67 ประมาณ 65,100 ครัวเรือน
สำหรับมีวิธีดำเนินการตามมาตรการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ปี 2566/67 ธ.ก.ส. จะเปิดให้เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้น ธนาคารจะตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกประเมินพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวและให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 3,255 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการ
- เริ่มตั้งแต่วันที่ครม.มีมติอนุมัติ ถึง 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาสมัครเข้าร่วมโครงการ
- ภายใน 30 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ
- เริ่มตั้งแต่วันที่ครม.มีมติอนุมัติ ถึง31 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ย
- เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันรับสินเชื่อแต่ไม่เกิน 31 มกราคม 2568
นอกจากนี้ ครม. ยังเห็นชอบการรักษาเสถียรภาพราคาหัวมันสด ปี 2566/67 เพื่อให้การกำกับดูแลมันสำปะหลังเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยมอบหมายคณะอนุกรรมการบริหารจัดการศัตรูมันสำปะหลังบริหารจัดการศัตรูมันสำปะหลังรับไปพิจารณาดำเนินการปรับแผนการขยายท่อนพันธุ์ให้ครอบคลุมพื้นที่ระบาดภายในปี 2569 ทั้งพันธุ์ต้านทานโรค (พันธุ์ที่มีภูมิคุ้มกัน ไม่ติดโรค) และพันธุ์ทนทานต่อโรค (พันธุ์ที่มีความแข็งแรง ติดโรคได้ยาก แต่ยังติดโรคได้)
รวมทั้งการส่งเสริมการเพาะปลูกด้วยระบบน้ำหยดเพื่อเพิ่มผลผลิตและรองรับการขยายท่อนพันธุ์ โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ แผนดำเนินการกรอบวงเงินงบฯ และแหล่งเงินก่อนเสนอ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ต่อไป
ขณะเดียวกันยังมอบหมายกรมศุลกากร กำกับดูแลการนำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทั้งการนำเข้าทางด่านถาวรและจุดผ่อนปรน ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประสานความร่วมมือหน่วยงานด้านความมั่นคง ป้องกัน สกัดกั้น การลักลอบนำเข้าทางช่องทางธรรมชาติอย่างเข้มงวด และให้กรมการค้าต่างประเทศ เข้มงวดตรวจสอบมาตรฐานมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่นำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเมินว่า ณ เดือนมีนาคม 2567 โดยมีผลผลิตทั้งประเทศ 26.88 ล้านตัน ลดลง 3.74 ล้านตัน เนื่องจากขาดแคลนท่อนพันธุ์ สภาวะอากาศร้อน/แล้ง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคใบด่าง เพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง โดยผลผลิตกระจุกตัวช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปัจจุบันเก็บเกี่ยวแล้ว 23.50 ล้านตัน
ส่วนราคาในประเทศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 มันสำปะหลัง เชื้อแป้ง 25% มีราคาอยู่ที่ 3.20 บาทต่อกิโลกรัม, มันเส้น มีราคาอยู่ที่ 7.43 และแป้งมัน มีราคาอยู่ที่ 18.85 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเกษตรกรบางส่วนเร่งขุดผลผลิตที่ไม่ครบอายุออกจำหน่าย ประกอบกับสภาวะอากาศร้อนจัดส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงและมีเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ สำหรับราคาส่งออกมันเส้นอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม และแป้งมันอยู่ที่ 20.59 บาทต่อกิโลกรัม
ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/596030
เริ่มแล้ว!! พันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งเพาะขยายกล้า เป้า 2.4 แสนต้น ภายใน 3 เดือน
เริ่มแล้ว!! พันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งเพาะขยายกล้า เป้า 2.4 แสนต้น ภายใน 3 เดือน
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาคีในการขับเคลื่อนแก้ไขผลกระทบของเกษตรกรจากโรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งพบการแพร่ระบาดมาตั้งแต่ ปี 2561 โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรและแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดตาม มาตรการป้องกัน กำจัด โรคใบด่างมันสำปะหลังมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้สนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังทนทานต่อโรคใบด่าง ได้แก่ เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และระยอง 72 เพื่อลดความรุนแรงของโรคและผลกระทบต่อปริมาณของผลผลิตอันเป็นเหตุให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนน้อยลงจากเดิม ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรประสานงานและได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(TTDI) สนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง ได้แก่ พันธุ์อิทธิ 1 อิทธิ 2 และอิทธิ 3 รวมจำนวน 15,000 ลำ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรกำลังเร่งเดินหน้าผลิตขยายเป็นต้นกล้ามันสำปะหลังสะอาดพันธุ์ต้านทานโรคใบด่าง โดยมีแผนดำเนินการภายในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อผลิตต้นกล้าให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 240,000 ต้น จากนั้นจะนำต้นกล้าไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ในพื้นที่ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 8 ศูนย์ของกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเวลา 10 เดือน เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่พร้อมเป็นพันธุ์ตั้งต้นสำหรับใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้าในปี 2568 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร เตรียมแผนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี โดยเฉพาะหน่วยงานภาคการศึกษาที่มีเครื่องมือและพื้นที่ในการผลิตขยายพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคที่มีประสิทธิภาพ โดยจะร่วมกันผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่างตามเป้าหมาย 15 ล้านท่อนในปี 2569 เพื่อให้เพียงพอสำหรับสนับสนุนให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 9 ล้านไร่
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งเตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศ ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด ปลอดโรค และทราบแหล่งที่มาของท่อนพันธุ์ ชัดเจน ไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 11 และ CMR 43-08-89 สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพันธุ์อ่อนแอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนมาใช้พันธุ์ทนทานต่อโรคใบด่าง ได้แก่ เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และระยอง 72 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดขของโรคใบด่างมันสำปะหลัง และเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ที่หน่วยงานภาครัฐจะสนับสนุนท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง ตลอดจนสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในรอบระยะเวลาที่ร่วมโครงการต่อไป ทั้งนี้ หากเกษตรกรต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน
ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3514850