
ภท.ระดมสมองแก้ปัญหามันสำปะหลัง วงเสวนาหนุนผลักดันร่างพรบ.กองทุนฯ เน้นทุกฝ่ายได้ประโยชน์
พรรคภูมิใจไทย ได้จัดเสวนา “เรื่อง มัน...มัน... ปัญหาและทางออก ของมันสำปะหลัง” ขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 3 พรรคภูมิใจไทย ถ.พหลโยธิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อร่วมแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากราคาผลผลิตตกต่ำ
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาโดยระบุว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรกำลังประสบปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ที่ประเทศไทยมีการปลูกถึง 45 จังหวัด พื้นที่ในการเพาะปลูก 8 ล้านไร่ จำนวนผลผลิตประมาณ 28 ล้านตัน มีเกษตรกรทั้งหมดเกือบ 5 แสนครัวเรือน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากที่สุดในโลก โดยส่งไปในกลุ่มประชาคมยุโรป อย่าง เนเธอร์แลนด์ สเปน เยอรมัน โปรตุเกส และยังมีตลาดเกาหลีใต้และญี่ปุ่น
มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีผู้เกี่ยวข้องมากมาย กล่าวคือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ลานมัน โรงงานแปรรูป และผู้ส่งออกมันสำปะหลัง แต่พบว่าปัจจุบันมีปัญหาด้านรายได้ของพี่น้องเกษตรกร ที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต จึงสมควรได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ ครบวงจร แก้ไขปัญหาที่เบ็ดเสร็จและยั่งยืน
ผมรับทราบมาว่า ในขณะนี้ทางกลุ่มพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีความพยายามในการขับเคลื่อนให้มีการเสนอ พระราชบัญญัติมันสำปะหลังแห่งชาติ ซึ่งพรรคภูมิใจไทย ก็ได้มีการตั้งคณะทำงานเรื่องดังกล่าวเช่นกัน และจะร่วมขับเคลื่อนเพื่อหาหนทางแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อไป
นายธีระชาติ เสยกระโทก เลขาธิการสมาคมชาวไร่มัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าว
ว่าปัจจุบันตัวเลขและข้อมูลต่างๆ ของเกษตรกรกับส่วนราชการไม่ตรงกัน ควรจะคุยกันว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเห็นว่าการมี พรบ.มันสำปะหลังแห่งชาติ จะทำให้พี่น้องเกษตรกรมีความมั่นใจว่าเมื่อลงมือปลูกมันแล้วจะขายได้เท่าไร และมีแรงใจในการสร้างผลผลิต
“เรื่องนี้จะต้องช่วยกันทั้งพรรคการเมืองและเกษตรกร ในฐานะชาวไร่มันก็จะไปชี้แจงว่าชาวไร่จะอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้อย่างไร และเมื่อชาวไร่มีรายได้มั่นคง ลานมัน ส่งออกก็มีผลผลิต แต่การอยู่ร่วมกันก็จะต้องมีกฎหมาย ที่พวกเราจะต้องช่วยกันผลักดันออกมาให้ได้ ช่วยกันทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชเงินพืชทองของแผ่นดิน”
นายธีระชาติ กล่าวถึงความมั่นใจเมื่อมีกฎหมายมันสำปะหลังว่า คิดง่ายๆ หากมีผลผลิต 28 ล้านตันต่อปี เอาเข้ากองทุนตันละ 10 บาท ก็จะเป็นกองทุนไว้แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องรอภาครัฐ แต่เรื่องเหล่านี้รัฐบาลเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าจะให้การสนับสนุนอย่างไร ในขณะที่อ้อย ข้าว มีกองทุน มีเจ้าภาพ แต่มันสำปะหลังไม่เคยมี
หากมีกฎหมายออกมา มีคณะกรรมการนโยบายมันแห่งชาติ มีตัวแทนจากทุกฝ่าย โดยให้มีเกษตรกรมากหน่อย ทอย่างเช้าหากมีกรรมการ 15 คน ก็น่าจะมีเกษตรกร 5-7 คน ก็น่าจะมีความมั่นคงขึ้น
นายภมร ศรีประเสริฐ ตัวแทนลานมัน ลานมันศรีทองโดเรม่อน กล่าวว่าเป็นนิตหมายอันดีที่จะมีการร่วมกันผลักดันร่างพรบ.มันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร เพราะเรื่องนี้มีไม่กี่คนที่ให้ความสนใจ ในตอนหาเสียงมีแต่คนพูดถึง บางคนบอกจะทำให้เป็นกิโลละ 4 บาท แต่ตอนนี้เลือกแล้ว เป็นส.ส. เป็นรัฐบาลมีใครพูดถึงบ้าง พูดแล้วก็ทำไม่ได้
“ในตอนที่ภูมิใจไทย ดูแลกระทวงพาณิชย์ ก็ช่วยมันสำปะหลังให้ได้เงินตรงเวลา แต่ก็ทำใก้ผัว เมียทะเลาะกัน เพราะขายมันได้ถึง 3.50 บาท ผัวก็อยากได้สิบล้อ ส่วนเมียก็จะเอาฟอร์จูนเนอร์”
นายภมร กล่าวด้วยว่าเมื่อพูดถึง พรบ.กองทุนมันสำปะหลัง ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นมาก เรื่องนี้อาจจะมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่อะไรที่คิดว่าทำแล้วทำให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีก็เป็นเรื่องที่น่าทำ และเมื่อมี พรบ. ก็จะมีการจัดการทุกอย่างให้ลงตัว มีเงินกองกลางเอาไว้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเมื่อจำเป็น
นายธวัชชัย ยืนยง ตัวแทนโรงแป้งมัน บจก.โชคยืนยง อุตสาหกรรม กล่าวว่าต้องขอบคุณพรรคภูมิใจไทย ที่จัดการเสวนาในครั้งนี้ ทุกวันนี้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเยอะมาก ส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลกถึง 4-4.2 ล้านตัน โดยขยายตัวต่อเนื่องปีละ 3-5% แต่ก็อย่าลืมว่าเรามีคู่แข่งมากทั้งลาว กัมพูชา แต่ทุกวันนี้ขณะที่ประเทศทางยุโรปมีการลงทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง แต่เราไม่มีการควบคุม ไม่มีโซนนิ่ง การรับซื้อก็ยังไม่ทั่วถึง หากไม่มีการปรับปรุงก็จะทำให้เราเสียเปรียบและเสียโอกาสได้
นายมาโนช วีระกูล ตัวแทนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง บจก.กบินทร์ผาติการเกษตร กล่าวว่าสิ่งที่น่าจะคุยกันในวันนี้คือจะทำอย่างไรในการยกระดับราคาให้เกษตรกรอยู่ได้ แต่ไม่ว่าจะเลือกการเพิ่มผลผลิต หรือการเพิ่มระดับราคาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
“หากเลือกการเพิ่มผลผลิต ก็ต้องย้อนถามว่าภาครัฐสามารถดูแลได้ดีพอหรือไม่ ในปี 2558 เราจะเข้าสู่ AEC จะต้องเปิดรับสินค้าการเกษตรจากประเทศสมาชิก ก็รู้สึกกังวล ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องไปช่วยกันคิดแก้ไข ซึ่งสภาพปัญหาทั่วไปที่พบมีทั้งปัญหาขาดแคลนเครื่องจักรกลการเกษตร โรงแป้งไม่สามารถซื้อผลผลิตได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้สินค้าล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำ งจะเห็นว่าขณะนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข”
ที่มา : พรรคภูมิใจไทย